1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
     2.2 เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจำวัน ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุ ลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุ รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 
             ว 2.2
 ป.4/1  ระบุผลของแรงโน้มถ่วงที่มีต่อวัตถุจากหลักฐานเชิงประจักษ์     
                    
ป.4/2  ใช้เครื่องชั่งสปริงในการวัดน้ำหนักของวัตถุ
       
            
ป.4/3  บรรยายมวลของวัตถุที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุจากหลักฐานเชิงประจักษ์

2. สาระการเรียนรู้
    2.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง
              1) แรงโน้มถ่วงของโลกเป็นแรงดึงดูดที่โลกกระทำต่อวัตถุต่างๆ บนโลก มีทิศทางเข้าสู่จุดศูนย์กลางของโลกจึงมีผลทำให้วัตถุตกลงสู่พื้นโลกเสมอ
         
 2) แรงโน้มถ่วงของโลกทำให้วัตถุมีน้ำหนัก โดยวัดน้ำหนักของวัตถุได้จากเครื่องชั่งสปริง
   
       3) มวลของวัตถุ คือ ปริมาณเนื้อของสารทั้งหมดที่ประกอบกันเป็นวัตถุ ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ

3. สาระสำคัญ
          
แรงโน้มถ่วงของโลกเป็นแรงดึงดูดที่โลกกระทำต่อมวลของวัตถุทุกชนิดที่อยู่บนโลกและที่อยู่ใกล้โลก ซึ่งเป็นแรงไม่สัมผัส และมีทิศทางเข้าสู่จุดศูนย์กลางของโลก   ทำให้วัตถุมีน้ำหนักและตกลงสู่พื้นโลกเสมอ ซึ่งเราสามารถวัดน้ำหนักของวัตถุได้โดยใช้เครื่องชั่งสปริง

คำแนะนำ 
         1. ศึกษาเนื้อหาวิชาตามหัวข้อต่าง ๆ  ในหน่วยการเรียนรู้ 
         2. ทำกิจกรรมการเรียนรู้จากกิจกรรมที่ 1.6

กิจกรรมที่ 1.6  ดาวน์โหลดใบงาน       
ฉลยกิจกรรมที่ 1.6   ดาวน์โหลดเฉลย

  

              มวล คือ ปริมาณเนื้อของสารทั้งหมดที่ประกอบกันเป็นวัตถุ โดยน้ำหนักของวัตถุจะขึ้นอยู่กับมวลของวัตถุ ถ้ามวลมากน้ำหนักก็จะมากและมวลน้อยน้ำหนักก็จะน้อยมวลยังมีผลต่อความยากง่ายในการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ วัตถุที่มีมวลมากจะเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ได้ยากกว่าวัตถุที่มีมวลน้อย ดังนั้น มวลของวัตถุนอกจากจะหมายถึงเนื้อทั้งหมดของวัตถุนั้นแล้วยังหมายถึงการต้านการเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนที่ของวัตถุนั้นด้วย

 วัตถุที่ 1 มีความหนาแน่นน้อย มวลน้อย น้ำหนักน้อย (การต้านการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่น้อย)
 วัตถุที่
มีความหนาแน่นมาก มวลมาก น้ำหนักมาก (การต้านการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่มาก)

 

      
       
     ถ้าออกแรงกระทำต่อวัตถุทั้งสองขนาดเท่ากันวัตถุที่มีมวลน้อยกว่าจะสามารถเคลื่อนที่ได้ไกลกว่า  เนื่องจากแรงต้านการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่น้อยกว่า เช่น ออกแรงลากกล่องไม้ กล่องเหล็ก กล่องกระดาษขนาดเท่า ๆ  กัน  กล่องกระดาษจะเคลื่อนที่ได้ง่ายและไกลกว่า

          ถ้ารถขนาดต่างกันเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากันคันใหญ่ต้องออกแรงมากกว่าคันเล็กและในการหยุดรถคันใหญ่ต้องออกแรงต้านเพื่อให้รถหยุดเคลื่อนที่มากกว่าเช่นกัน